04 กันยายน 2551

5. โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light)















ทีนี้ก็มาพูดถึงอุปกรณ์เสริม ที่ช่วยให้แสงสว่างเวลาถ่ายงานของกล้องกันบ้างนะครับ โดยปกติแล้วถ้าหากเราถ่ายวีดีโอในที่โล่งแจ้ง หรือที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอก็คงไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอก จริงมั๊ยครับ แต่อาจจะมีบางท่านที่ใช้เนื่องจากเหตุผลอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ในการถ่ายทำของแต่ละคน โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราต้องการถ่ายงานในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อย และต้องการให้งานออกมามีสีสรรสดใส สวยงามเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น เช่นงานถ่ายวิดีโอ งานแต่งงาน ช่วงกลางคืน






กล้องบางรุ่นอาจจะมีไฟติดมาให้พร้อมกับตัวกล้องเลย โดยเฉพาะกล้องที่ใช้ตามบ้านทั่วไป รุ่นใหม่ๆที่ออกมาขายมักจะมีไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) มาให้พร้อมใช้งานได้เลย แต่อย่าคาดหวังว่าจะได้ภาพที่มีความสว่างสวยๆ จากไฟถ่ายวีดีโอประเภทนี้เลยครับ เพราะความสว่างของหลอดไฟที่ให้มานั้นอย่างมากก็ไม่เกิน 10 วัตต์ และก็เป็นหลอด LED เพียงไม่กี่หลอดเอง จึงไม่เพียงพอต่อการถ่ายงานกันจริงๆจังๆได้ครับ แต่มีไว้ใช้ตอนฉุกเฉินก็พอได้ครับ







โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light)
ที่ใช้ในงานนั้น หลักๆ มี 2 ประเภทดังนี้ครับ

โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) ประเภทแรก ชนิดที่ใช้เสียบติดกับ Shoe บนตัวกล้องเลย ซึ่งโดยปกติแล้ว กล้องที่ไม่มีไฟถ่ายวีดีโอในตัว มักจะมี Shoe นี้ติดเพิ่มมาให้เพื่อให้สามารถ เอาอุปกรณ์เสริม (Accessories) โคมไฟถ่ายวีดีโอมาติดตั้งทีหลังได้ ซึ่งโคมไฟถ่ายวีดีโอนี้จะอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากจุดต่อที่ตัว Shoe นี้ ซึ่งตัวกล้องได้รับการออกแบบมาให้เรียบร้อยแล้ว เวลาจะซื้ออุปกรณ์เสริม โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) ก็ต้องซื้อที่สามารถเข้ากันได้กับตัวกล้องด้วยนะครับ ส่วนกล้องบางรุ่นที่ตัว Shoe ไม่มีไฟที่เป็นแหล่งจ่ายมาเลี้ยงตรงจุดนี้ก็ต้องอาศัย DC Battery หรือ ไฟ ACจากภายนอกมาจ่ายไฟให้แทน ซึ่งแบบหลังนี้ผมว่าน่าจะดีกว่า เพราะว่าไม่สิ้นเปลืองกระแสไฟที่จะจ่ายให้กับตัวกล้อง และโดยส่วนมากกำลังวัตต์ สามารถเลือกได้ตามขนาดของ ของความสว่างของหลอดไฟ เช่น 100/200/300 วัตต์ หรือตามความจุของ DC Battery ที่นำมาใช้ครับ

โคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) ประเภทที่สอง ชนิดที่แยกต่างหากจากตัวกล้อง หรือแบบที่ใช้คนช่วยถือส่องให้ ซึ่งแบบนี้จะมีด้ามจับมาให้สำหรับใช้ถือส่องไฟให้ความสว่าง กำลังไฟส่วนใหญ่ก็จะมากกว่า ราวๆ 100/200/300 วัตต์ หรือ 1000/2000 วัตต์ ก็มีครับ ดังนั้นความสว่างรวมทั้งความร้อนก็ต้องมากกว่าแน่นอน ประเภทหลังนี้อาจจะใช้ DC Battery หรือจากไฟ AC เลยก็มีให้เลือกได้ครับบางรุ่นอาจจะมีตัว Inverter ขนาดเล็กๆ ในตัวเพื่อแปลงไฟจาก DC Battery 12 V. ให้เป็นไฟ AC 220 V. เพื่อจ่ายให้กับหลอดไฟแบบ AC อีกทีหนึ่ง ซึงทำให้สามารถขับหลอดไฟ 100-300 วัตต์ หรือ 1000/2000 วัตต์ได้อย่างสบายๆ ขึ้นอยู่กับ Inverter ที่ออกแบบมาครับ

นอกจากโคมไฟถ่ายวีดีโอ (Camcorder Video Light) ทั้งสองประเภทที่ผมได้พูดถึงมาแล้วนั้น ก็ยังมีโคมไฟประกอบในส่วนอื่นๆ ที่ต้องติดตั้งเป็นชุด (วันหลังจะหาข้อมูลมาให้ครับ) เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยในการจัดแสงเงา ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของภาพที่ได้จากการถ่ายวีดีโอ ได้ภาพที่มีความเป็นศิลป์มากขึ้น เช่น โคมไฟเย็น (Cool Light) และ โคมไฟร้อน (Hot Light) ส่วนใหญ่มักใช้ใน Studio และเป็นงานที่เน้นคุณภาพขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ราคาก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหลอดและวัดสดุที่ใช้ประกอบขึ้นเป็นโคมไฟแหละครับ ที่พูดมาทั้งหมดนั้นผมไม่ได้ลงลึกนะครับ แค่พอเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจได้ใช้อ่านประดับความรู้เท่านั้นเองครับ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เขียนเพิ่มให้อ่านอีกนะครับ