30 สิงหาคม 2551

4. ขาตั้งกล้อง (Tripod)-ตอนที่2
















เพิ่มเติมต่อจากครั้งที่แล้วนะครับ ท่านที่ต้องการ ขาตั้งกล้องวีดีโอ (Tripod)
ดีๆมาไว้ใน ครอบครองสักตัว คงต้องพิจารณาหลายส่วน
ประกอบกันดังนี้นะครับ

1. เลือกให้อยู่กับงบประมาณของแต่ละท่านเป็นหลักว่าต้องการในระดับ
ไหนรวมทั้ง ราคาและคุณภาพ

2. เลือกให้มีเหมาะสมกับลักษณะของงานให้มากที่สุด เพราะหากเราต้อง
เดินทางบ่อยๆเป็นระยะเวลานานๆ ก็ต้องดูที่น้ำหนักไม่มากและมีขนาด
ใหญ่จนเกินไปนักซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในการขนย้ายได้

3. ขาตั้งกล้อง (Tripod) ต้องมีความแข็งแรงเข้ากันได้ดี กับกล้องวีดีโอ
ที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำเพื่อง่ายต่อการติดตั้งและการควบคุมกล้อง

4. ส่วนหัวรับกล้อง ของขาตั้งกล้อง (Tripod) ควรมีมาตรวัดระดับน้ำด้วย
โดยปกติหากขาตั้งกล้องที่มี มาตราฐานสูง ส่วนนี้จะสามารถหาซื้อ แยก
ต่างหากจากส่วนขาได้ โดยส่วนตัวผมว่าสำคัญมากครับ หากเราไปตั้ง
กล้องวีดีโอ บันทึกภาพโดยไม่มีการเช็คระดับ Balance ของกล้องก่อน
ภาพวิดีโอที่ออกมาอาจจะมีความเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
เมื่อเรานำมาตัดต่อจะทำให้เสีย เวลาในแก้ไขให้มุมกล้องกลับมาอยู่
ในระดับปกติ ได้ยาก และเสียเวลาทำงานครับ

5. การปรับระดับมุมกล้องก้ม เงย แพนกล้อง ซ้าย ขวา สำคัญไม่แพ้กัน
หาก ขาตั้งกล้อง (Tripod) ที่ไม่มีคุณภาพ เวลาเราแพนกล้อง หรือ
ปรับมุมกล้องให้ก้มเงย จะทำให้มีอาการสะดุด เป็นช่วงๆ ไม่ราบรื่น
ที่เป็นเช่นนั้นแสดงว่าขาตั้งกล้องตัวนั้น ไม่มีระบบน้ำมันมาหล่อลื่น
ครับ ซึ่งหากเป็นขาตั้งกล้องที่ดี มีคุณภาพแล้ว จะต้องมีระบบหล่อลื่น
แบบน้ำมันร่วมด้วยครับทำให้การแพนกล้องไม่เกิดการสะดุด

6.อีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในปัจจุบัน ก็คือ ขาตั้งประเภทที่มี รีโหมด
ควบคุมกล้อง (Camcorder Remote Control) ร่วมด้วย เป็นขาตั้ง
กล้องมาพร้อมก้าน Zoom ในตัวทำให้สะดวก ดีเมื่อใช้ร่วมกันกับกล้อง
แต่ก็มีราคาแพงอยู่พอสมควรและที่สำคัญคือ กล้องวีดีโอรุ่นนั้นจะต้อง
รองรับ หรือเข้ากันได้กับ ขาตั้งกล้องแบบพิเศษนี้ด้วย เพราะหากตัว
กล้องไม่มี Function รองรับกับขาตั้งกล้องชนิดนี้แล้ว ก็ไม่สามารถ
ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ กับตัวรีโมทครับ

7. ประการสุดท้ายก็คือราคานั่นเองครับ หาก Tripod ที่มีราคาสูงส่วน
ใหญ่แล้วจะผลิตมาจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานกับการใช้งานได้ดี มีน้ำ
หนักไม่มากเกินไป สามารถเข้ากันได้กับกล้องถ่ายวีดีโอส่วนใหญ่ที่มี
ขายอยู่ในตลาดแหละครับ คงพอเป็นแนวทางแล้วนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น